ลบ
แก้ไข

ธุรกิจผลิตเครื่อง ดื่มจากเกาหลี "ลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ"ประกาศจับมือร่วมกันผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มของ"เป๊ปซี่ โค"บนแผ่นดินพม่า
ธุรกิจผลิตเครื่องดื่มจากเกาหลี "ลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ" และ ธุรกิจเอกชนของพม่า "เมียนมาร์ โกลเดน เบฟเวอเรจ" หรือเอ็มจีเอส ประกาศจับมือร่วมกันผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มของ "เป๊ปซี่ โค" บนแผ่นดินพม่า
ทั้งสองกิจการบรรลุข้อตกลงร่วมกันจัดตั้งธุรกิจร่วมทุนภายใต้ชื่อ "ลอตเต้-เอ็มจีเอส เบเวอเรจ" พร้อมระบุว่า คณะกรรมการกำกับการลงทุนของพม่าอนุมัติการลงทุนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ จะถือหุ้นในธุรกิจร่วมทุน 70% ขณะที่เอ็มจีเอส จะถือหุ้นส่วนที่เหลืออีก 30% จากมูลค่าการลงทุนรวมกัน 81 ล้านดอลลาร์
โฆษกเอ็มจีเอส กล่าวว่า จะทำการปรับปรุงและยกระดับเทคโนโลยีการผลิตเพื่อรองรับการผลิตเครื่องดื่มของเป๊ปซี่ อาทิ เป๊ปซี่-โคล่า เซเว่น-อัพ และมิรินด้า ของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมฮเลียง ทาร์ยาร์ นครย่างกุ้ง โดยธุรกิจร่วมทุนใหม่นี้ จะบรรจุและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเป๊ปซี่ไปยัง 17 เมืองทั่วพม่า
กรรมการผู้จัดการลอตเต้-เอ็มจีเอส เบฟเวอเรจ "นายเบียง -ตัก เฮอร์" กล่าวว่า การลงทุนเพื่อนำเป๊ปซี่กลับมายังพม่าในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อชาวพม่า อย่างน้อย ๆ ก็มีการจ้างงานหลายพันอัตรา ซึ่งรวมถึงโปรแกรมการพัฒนาทักษะและฝึกอบรมให้กับพนักงานด้วย
นับตั้งแต่ปี 2537 - 2555 พม่าไม่สามารถผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซี่ ภายในประเทศ อันเนื่องมาจากนานาชาติประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ผลจากการที่รัฐบาลทหารพม่าในเวลานั้นมีการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายต่อหลายครั้ง
ก่อนหน้าการถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจดังกล่าว เอ็มจีเอส เคยเปิดโรงงานผลิตเครื่องดื่มเป๊ปซี่ในนครย่างกุ้งมาก่อน ขณะที่ทางฝั่งของลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ รับหน้าที่ผลิตเครื่องดื่มให้กับเป๊ปซี่โคเพื่อทำตลาดในเกาหลีใต้ มานานหลายปีแล้ว
อย่างไรก็ดี นับจากมีการปฏิรูปการเมืองและนานาชาติยกเลิกการคว่ำบาตรพม่า เมื่อปี 2555 เป๊ปซี่โค กลับเข้าทำตลาดด้วยการลงนามในสัญญาให้ไดมอนด์ สตาร์ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการนำเข้า จำหน่าย และจัดจำหน่าย เครื่องดื่มของเป๊ปซี่โค ซึ่งไดมอนด์ สตาร์ ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่ใหญ่สุดในพม่า เลือกนำเข้าเป๊ปซี่แบบขวดจากเวียดนาม แต่เพิ่งหยุดนำเข้าเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
แหล่งข่าวที่เป็นหนึ่งในพนักงานของไดมอนด์ สตาร์ ให้ข้อมูลว่า มีการลักลอบนำเป๊ปซี่แบบกระป๋องที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งราคาถูกกว่าการนำเข้าแบบกระป๋องจากเวียดนาม เข้ามาจำหน่ายในพม่า เป็นเหตุให้บริษัทมีกำไรลดลง จนต้องหยุดการนำเข้าเป๊ปซี่กระป๋องจากเวียดนามในที่สุด
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก bangkokbiznews.com
เกาหลี-พม่าร่วมทุนผลิตเป๊ปซี่

ธุรกิจผลิตเครื่อง ดื่มจากเกาหลี "ลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ"ประกาศจับมือร่วมกันผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มของ"เป๊ปซี่ โค"บนแผ่นดินพม่า
ธุรกิจผลิตเครื่องดื่มจากเกาหลี "ลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ" และ ธุรกิจเอกชนของพม่า "เมียนมาร์ โกลเดน เบฟเวอเรจ" หรือเอ็มจีเอส ประกาศจับมือร่วมกันผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มของ "เป๊ปซี่ โค" บนแผ่นดินพม่า
ทั้งสองกิจการบรรลุข้อตกลงร่วมกันจัดตั้งธุรกิจร่วมทุนภายใต้ชื่อ "ลอตเต้-เอ็มจีเอส เบเวอเรจ" พร้อมระบุว่า คณะกรรมการกำกับการลงทุนของพม่าอนุมัติการลงทุนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ จะถือหุ้นในธุรกิจร่วมทุน 70% ขณะที่เอ็มจีเอส จะถือหุ้นส่วนที่เหลืออีก 30% จากมูลค่าการลงทุนรวมกัน 81 ล้านดอลลาร์
โฆษกเอ็มจีเอส กล่าวว่า จะทำการปรับปรุงและยกระดับเทคโนโลยีการผลิตเพื่อรองรับการผลิตเครื่องดื่มของเป๊ปซี่ อาทิ เป๊ปซี่-โคล่า เซเว่น-อัพ และมิรินด้า ของโรงงานผลิตเครื่องดื่ม ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมฮเลียง ทาร์ยาร์ นครย่างกุ้ง โดยธุรกิจร่วมทุนใหม่นี้ จะบรรจุและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเป๊ปซี่ไปยัง 17 เมืองทั่วพม่า
กรรมการผู้จัดการลอตเต้-เอ็มจีเอส เบฟเวอเรจ "นายเบียง -ตัก เฮอร์" กล่าวว่า การลงทุนเพื่อนำเป๊ปซี่กลับมายังพม่าในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อชาวพม่า อย่างน้อย ๆ ก็มีการจ้างงานหลายพันอัตรา ซึ่งรวมถึงโปรแกรมการพัฒนาทักษะและฝึกอบรมให้กับพนักงานด้วย
นับตั้งแต่ปี 2537 - 2555 พม่าไม่สามารถผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซี่ ภายในประเทศ อันเนื่องมาจากนานาชาติประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ผลจากการที่รัฐบาลทหารพม่าในเวลานั้นมีการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายต่อหลายครั้ง
ก่อนหน้าการถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจดังกล่าว เอ็มจีเอส เคยเปิดโรงงานผลิตเครื่องดื่มเป๊ปซี่ในนครย่างกุ้งมาก่อน ขณะที่ทางฝั่งของลอตเต้ ชิลซุง เบฟเวอเรจ รับหน้าที่ผลิตเครื่องดื่มให้กับเป๊ปซี่โคเพื่อทำตลาดในเกาหลีใต้ มานานหลายปีแล้ว
อย่างไรก็ดี นับจากมีการปฏิรูปการเมืองและนานาชาติยกเลิกการคว่ำบาตรพม่า เมื่อปี 2555 เป๊ปซี่โค กลับเข้าทำตลาดด้วยการลงนามในสัญญาให้ไดมอนด์ สตาร์ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการนำเข้า จำหน่าย และจัดจำหน่าย เครื่องดื่มของเป๊ปซี่โค ซึ่งไดมอนด์ สตาร์ ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่ใหญ่สุดในพม่า เลือกนำเข้าเป๊ปซี่แบบขวดจากเวียดนาม แต่เพิ่งหยุดนำเข้าเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
แหล่งข่าวที่เป็นหนึ่งในพนักงานของไดมอนด์ สตาร์ ให้ข้อมูลว่า มีการลักลอบนำเป๊ปซี่แบบกระป๋องที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งราคาถูกกว่าการนำเข้าแบบกระป๋องจากเวียดนาม เข้ามาจำหน่ายในพม่า เป็นเหตุให้บริษัทมีกำไรลดลง จนต้องหยุดการนำเข้าเป๊ปซี่กระป๋องจากเวียดนามในที่สุด
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก bangkokbiznews.com
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
-
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมระดับโลกที่ถูกสร้างขึ้นนอกเมืองของเชียงใหม่จะช่วยเพิ่มการการพัฒนาธุรกิจของไทย โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรม MICE ซึ่งประเทศไทยกำลังจะก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม MICE...by dogTech
-
ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของอาเซียน และพบว่า ของเขายิ่งกว่าพร้อมและไม่เพียงแค่การเตรียมตัวเข้าอาเซียนเท่านั้น แต่ยังตั้งเป้าหมายไกลไปถึงการเลื่อนชั้นประเทศของเขาในระดับโลกด้วย...by Editor
-
นายเฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด ผู้บริหารร้านแมคโดนัลด์ในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางนโยบายการดำเนินงานจากนี้ไป 5 ปี (ปี 2558-2563) บริษัทฯ...by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต